อัพเดท ปีที่26 ฉบับที่280 มกราคม2554 หน้าที่31
ปฏิทินวิทยาศาสตร์2544
ปฏิทินวิทยาศาสตร์2554กาลเวลาเวียนผ่านไปอีกหนึ่งรอบปีสื่อปฏิทินยังคงทำหน้าที่อย่างชื่อสัตย์เพื่อแสดงวัน เดื่อน ปี และเอื้อประโยชน์ในการวางแผนงานหรือนัดหมายต่างๆ แก่ผู้ใช้งาน นอกเหนือจากนี้ จากนี้ ภาพปฏิทินเองก็ยังแสดงถึงความสวยงามและให้สาระความรู้อีกศูนย์สื่อสารวินยาสตร์ปฏิทินในปัจจุบันนำเสนอผ่านสื่อหลายรูปแบบทั้งปฏิทินกระดาษทั้งแขวนและตั้งโต๊ะ นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรืออื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปฏิทินแบบสุริยคติตามนานาๆประเทศ การใช้งานจะคุ้นเคยกันดี อาจมีปีศักราช พ.ศ. และ ค.ศ. ที่อ้างอิงต่างกันเท่านั้น เรื่องปฏิทินหากย้อนไปประมาณ 100 กว่าปี หรือก่อนปี พ.ศ.2456 ประเทศไทยยังใช้ปฏิทินจันทรคติเป็นหลัก ชื่อเดือน มกราคม-ธันวาคม ยังไม่มีใช้ ผู้คนยุคนั้นจะรู้จักปฏิทินวันแรมค่ำ เดือนอ้ายยี่ ปีชวด ฉลู ฯ หรือจดจำวันเกิดตามปฏิทินจันทรคติ เช่น เกิดวันศุกร์ เดือนยี่ ปีกุน เท่านั้นหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงเริ่มใช้วันเดือนปีสุริยคติตามสากล ปฏิทินจันทรคติไทยก็ลดบทบาทลงจนเกือบจะหายไป ยังคงเหลือใช้เฉพาะกลุ่ม เช่น ทางโหราศาสตพิธีกรรม ศาสนา วัฒนธรรม ส่วนอื่นๆ จะใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลเกือบทั้งหมด ดังนั้น หากจะใปฏิทินในทางวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ตามคติพราหมณ์-ฮินดู และใช้จนถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า พ.ศ.2432 ซึ่งตรงพอดีกับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2432 (รัตนโกสินทร์ศก. 108) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็น วันที่ 1 เมษายน แทน และใช้จนถึง พ.ศ.2483 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยตามสากลประเทศ จากวันที่ 1 เมษายน เป็น วันที่ 1 มกราคม โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นมา , ในปี พ.ศ.2483 ถ้านับถึงเปลี่ยนปีใหม่ เลือนวันจาก 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม ปรับปีใหม่เร็วขึ้น จำนวนเดือนในปฏิทินไทยจึงหายไป 3 เดือน ดังนั้นในปี พ.ศ.2483 หากนับช่วงเวลาจะมี 9 เดือน โดยวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2483 - 31 มีนาคม พ.ศ.2483 ไม่มีอยู่ในปฏิทินไทยที่ใช้จริง แต่ตามปฏิทินสากล ซึ่งตรงกับปี ค.ศ.1940 ช่วงเวลาในปฏิทินดังกล่าวใช้ตามปรกติ ช่วงก่อนปี พ.ศ.2483 ปฏิทินชุดนี้จะแสดงปีที่คาบเกี่ยวกัน เพราะยังนับวันเปลี่ยนปีใหม่วันที่ 1 เมษายน เช่น 2482(2481) ซึ่งค่าแรก 2482 เป็นปี พ.ศ. ที่ได้จากปี ค.ศ.+543 คือนับ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ส่วนค่าในวงเล็บ(2481) เป็นปี พ.ศ. ไทยที่ใช้จริงหรือที่เรียกปี พ.ศ. ในช่วงเวลานั้นๆซึ่งนับ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ หากใช้ปฏิทินในช่วงเวลาข้างต้น โปรดศึกษากฎเกณฑ์ รวมถึงข้อกำหนดต่างๆของปฏิทินโดยละเอียด , นอกจากนี้ยังมีช่วง ก่อนปี พ.ศ.2432 ใช้นับวันขึ้นปีใหม่เปลี่ยน ปี พ.ศ. ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้าวันสำคัญทางพุทธศาสนา ได้กำหนดตามเงื่อนไขปฏิทินจันทรคติ ตรวจสอบความถูกต้องปีต่อปีตามประกาศ กรมการศาสนา , วันสำคัญอื่นๆ เงื่อนไขตายตัวได้กำหนดตามปฏิทินสุริยคติ ทั้งนี้บางวันสำคัญจะเริ่มแสดงผลตามปีที่ประกาศใช้วันสำคัญนั้นๆ เช่น วันรัฐธรรมนูญ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.2475 ก่อนหน้านั้นจะยังไม่มีวันรัฐธรรมนูญ เป็นต้นวันสำคัญ วันหยุดธนาคาร วันหยุดชดเชยหรืออื่นๆ ที่มีกำหนดการไม่แน่นอน เช่น วันพืชมงคลซึ่งถูกกำหนดวันโดยสำนักพระราชวัง วันหยุดพิเศษตามสถานการณ์ ตามประกาศ ครม. จะมีข้อมูลย้อนหลังถึงปี พ.ศ.2540 ส่วนข้อมูลปีปัจจุบัน อาจมีปรับปรุงตรวจสอบความถูกต้องเพิ่มเติมปีต่อปี หรือตามประกาศเป็นครั้งๆไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น