คำแนะนำที่เรามักได้ยินบ่อยๆ เวลาทำอะไรผิดพลาด คือคำว่า “ลองมองในแง่ดีสิ” คำๆ นี้มีความหมาในเชิงปลอบใจ แต่ไม่ทำให้ปัญหาที่กำลังประสบหายไป จึงทำให้คำๆ นี้มีความหมายแตกต่างจากคำว่าPositive Thinking ที่ฝรั่งใช้ซึ่งแปลตรงตัวว่า การคิดเชิงบวกโดยสิ่งที่ยากที่สุดในกระบวนการคิดคือ สมองของคนเรามักโฟกัสไปยังปัญหาตรงหน้ามากกว่าจะโฟกัสไปที่ภาพรวม ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เรื่องเล็กๆที่แก้ไขได้ง่ายดายกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ และยังไปรบกวนประสิทธิภาพในการตัดสินใจของคุณอีกด้วย สิ่งนี้ถูกเรียกว่า ความคิดเชิงลบความคิดเชิงลบ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการเอาตัวรอด โดยใช้ความกลัวเป็นหลัก แต่หากคนๆนั้นมีความคิดเชิงลบมากๆเข้า จะทำให้กลายเป็นคนไม่กล้าเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่ที่แย่กว่านั้นคือมันอาจทำให้คุณพลาดโอกาสดีๆมากมายในชีวิตความคิดบวกเป็นเรื่องของกลไกสมองที่คุณสามารถฝึกได้ ซึ่งคุณต้องตั้งใจในการทำอย่างสม่ำเสมอจนติดเป็นนิสัย เรามาดูผลการวิจัยกันบ้างว่าการคิดบวกมีผลดีต่อชีวิตของคุณอย่างไรรู้หรือไม่ว่าการมองโลกในแง่ร้ายหรือการคิดลบนั้นมีผลกับสุขภาพของคุณโดยตรง พิสูจน์ได้จากการวิจัยของ Martin Seligman แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้ทำการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นคนวัย 25 – 65 ปี พบว่าการเป็นคนมองโลกในแง่ลบจะทำให้คนเหล่านี้มีโอกาสที่ร่างกายจะทรุดโทรมกว่าคนที่มองโลกในแง่บวกหรือคิดบวกอย่างเห็นได้ชัดหรือในอีกกรณีหนึ่งคือ พิสูจน์จากผลสำรวจจากมหาวิทยาลัยเคนทักกี้ที่ทำการทดลองกลุ่มตัวอย่างโดยการฉีดไวรัสเพื่อวัดระดับภูมิคุ้มกัน พบว่าอาสาสมัครที่เป็นกลุ่มมองโลกในแง่ดีมีภูมิคุ้มกันต่อโรคสูงกว่าก้าวแรกที่สำคัญคือการเรียนรู้ในการโฟกัสไปที่การหยุดความคิดเชิงลบจากตัวคุณ ความคิดเชิงลบนี้มีส่วนในการรบกวนการตัดสินใจของคุณเป็นอย่างมาก เมื่อคุณพบว่าตัวเองกำลังมีความคิดเชิงลบหรือกำลังมองโลกในแง่ร้ายอยู่ ให้เตือนตัวเองว่าถึงเวลาแล้วที่จะหยุดการคิดแบบนี้และจดมันลงไป เช่น หากคุณกำลังตัดสินใจลงทุนทำอะไรซักอย่าง ถ้าคุณกำลังมองโลกในแง่ร้าย สมองของคุณจะคิดถึงความกลัวนานับประการ กลัวการล้มเหลวเอย กลัวถูกโกงเอย กลัวการตัดสินใจผิดพลาดเอย ให้คุณจดลงไปแล้วหาคำตอบว่าความกลัวของคุณนั้นมีข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใดการจดนี้จะช่วยทำให้คุณแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับอาการกลัวไปเองที่เกิดจากความเชื่อผิดๆ ออกจากกันและจะช่วยทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นคุณจะเริ่มรู้สึกเป็นธรรมชาติมากขึ้นหลังจากฝึกฝนมาซักระยะ มาถึงขั้นตอนต่อไป ขั้นตอนนี้คือขั้นตอนการปรับวิธีคิดของสมอง โดยทุกครั้งที่คุณเริ่มรู้สึกแย่ ให้คุณเตือนตัวเองแล้วลองจินตนาการถึงเรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้นในวันนั้น อะไรก็ได้ซักอย่างหนึ่ง หากคุณรู้สึกดีขึ้นแสดงว่าสมองของคุณเริ่มคุ้นเคยกับการคิดเชิงบวกแล้ว แต่หากเรื่องราวนี้ไม่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นเลยให้คุณลองจินตนาการถึงเรื่องราวดีๆ ย้อนกลับไปยังวันก่อนๆ จนพบเรื่องราวที่ทำให้คุณมีความสุขได้จุดประสงค์ในการทำเช่นนี้เพื่อให้คุณรู้ว่า หากคุณกำลังมีความคิดเป็นลบแล้วอย่าจมอยู่กับมัน คุณจะต้องคิดถึงเรื่องดีๆ เพื่อดึงสติของคุณกลับมา ขั้นแรกเพื่อหยุดความคิดเป็นลบที่กำลังเข้ามาบดบังการตัดสินใจของคุณ ขั้นที่สองเพื่อแทนที่ความคิดด้านลบด้วยความคิดด้านบวก หากคุณปฏิบัติแล้วยังรู้สึกยากเย็นก็สามารถใช้เทคนิคนี้ควบคู่ไปกับเทคนิคการจดความคิดเป็นลบ หากคุณปฏิบัติจนชำนาญ สมองของคุณก็พร้อมเปิดรับสิ่งต่างๆอย่างไม่ลำเอียง
อัพเดท ปีที่26 ฉบับที่280 มกราคม2554 หน้าที่11
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น